แชร์

พระผงและเหรียญพระสังฆารามโพธิสัตต์ (มหาเทพโพธิสัตต์กวนอู) รุ่นเปิดโลกสำเร็จสมปรารถนา

อัพเดทล่าสุด: 28 ก.พ. 2024
179 ผู้เข้าชม

เกริ่นนำ       

         พระผง/เหรียญพระสังฆารามโพธิสัตต์ (เฉียหลันผูซา: มหาเทพโพธิสัตต์กวนอู) รุ่นเปิดโลกสำเร็จสมปรารถนา เป็นวัตถุมงคลรุ่นแรกที่พระสังฆารามโพธิสโมสร (Guanyuway) จัดสร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่เผยแพร่อย่างเป็นทางการ ๓ ประการ ดังนี้

           ๑) เป็นทุนตั้งต้นในการดำเนินงานจัดตั้งมูลนิธิพระสังฆารามโพธิสโมสรเอเอกูลบุคคลอื่นให้มีการดำเนินชีวิตที่ดีงามบนฐานปัญญา และสร้างพระสังฆารามโพธิสถาน (อุทยานมหาเทพโพธิสัตต์กวนอู)

           ๒) ดำเนินกิจกรรมด้านการเผยแผ่ / พัฒนากำลังคนคุณภาพตามหลักมหาเทวานุวัตร (เชี่ยวชาญ ช่ำชอง, ศรัทธา มุ่งมั่น, ซื่อตรงในการงาน, หาญกล้า อดทน, รู้คุณคน ตอบแทนตามควร)

           ๓) ปัจจัยส่วนหนึ่งนำไปจัดหาคอมพิวเตอร์ให้โรงเรียนบ้านห้วยศาลา ต.ยางหัก อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี (เคยมอบให้ ๒ เครื่องเมื่อเดือนสิงหาคม ๒๕๖๖)

         นอกจากวัตถุประสงค์หลัก ๓ ประการดังกล่าวแล้ว ยังมีจุดมุ่งหมายสำคัญอีกประการหนึ่งคือ การเผยแผ่เกียรติคุณและเสริมสร้างพลังศรัทธามหาชนที่มีต่อองค์มหาเทพโพธิสัตต์กวนอู โดยคาดหวังว่าบุคคลที่ได้รับพระผงหรือเหรียญพระสังฆารามโพธิสัตต์ (มหาเทพโพธิสัตต์กวนอู) ไปสักการะบูชา จักมีศรัทธามุ่งมั่นในการพัฒนาตนตามหลักมหาเทวานุวัตร หาญกล้าที่จะก้าวเดินจากพื้นที่ปลอดภัย (Safe zone) ของตน ออกมาต่อสู้เพื่อแสวงหาวิถีชีวิตใหม่ที่ดีงามบนฐานปัญญา และประสบความสำเร็จ สามารถสร้างฐานะความเป็นอยู่ที่มั่นคง มั่งคั่ง ร่ำรวย เป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี แล้วมามีส่วนร่วมในการเกื้อกูลบุคคลอื่นให้มีการดำเนินชีวิตที่ดีงามบนฐานปัญญา 

การกำหนดแบบวัตถุมงคลพระสังฆารามโพธิสัตต์ (เฉียหลันผูซา: มหาเทพโพธิสัตต์กวนอู)

          การกำหนดแบบพระผง/เหรียญพระสังฆารามโพธิสัตต์ (มหาเทพโพธิสัตต์กวนอู) เป็นขั้นตอนการทำงานที่ให้ความสำคัญยิ่งกับการนำสัญลักษณ์มงคลต่าง ๆ ที่สามารถสื่อความหมายของการดำเนินชีวิตที่ดีงามบนฐานปัญญา โดยยึดเอาจริยวัตรของมหาเทพโพธิสัตต์กวนอูและหลักมหาเทวานุวัตรเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติ จุดมุ่งหมายคือการสร้างสัญลักษณ์อันเป็นมิ่งขวัญ/แรงศรัทธาในการต่อสู้เพื่อแสวงหาทางเลือกอันเป็นวิถีชีวิตที่ดีกว่า ด้วยเหตุนี้ ทุกองค์ประกอบที่หลอมรวมขึ้นเป็นวัตถุมงคลพระสังฆารามโพธิสัตต์ ล้วนมีความหมายและเป็นปรัชญาที่พึงต้องบันทึกไว้เป็นร่องรอยให้ผู้ที่ศรัทธาในมรรควิถีของพระสังฆารามโพธิสโมสรได้ศึกษาเรียนรู้และพัฒนาตนอย่างเป็นระบบ

           ๑) "โพธิสัตต์" เป็นการใช้คำที่มีจุดมุ่งหมายเฉพาะ มิใช่การเขียนผิดอย่างที่หลายท่านท้วงติงมา มหาเทพโพธิสัตต์กวนอู มิใช่พระโพธิสัตว์ตามความหมายของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทที่เชื่อว่า พระโพธิสัตว์คือผู้ปรารถนาพุทธภูมิและบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในทางตรงกันข้าม สถานะของมหาเทพโพธิสัตต์กวนอู มิใช่ผู้บำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า แต่เป็นวิญญาณที่ศรัทธาเลื่อมใสในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เมื่อได้ฟังธรรมจากหลวงจีนจื้ออี้แล้ว เกิดดวงตาเห็นธรรมแล้วตั้งจิตปฏิญาณว่าจะปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนา สำคัญยิ่งคือ พระโพธิสัตว์ตามนัยของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน สำนักสัทธปุณฑริก พึงมีหน้าที่โปรดสัตว์โลกให้พ้นทุกข์แล้วค่อยหลุดพ้น การใช้คำศัพท์อันแปลกแยกไปจากพระโพธิสัตว์โดยทั่วไป เป็นสัญญะที่สื่อความหมายแทนคำปฏิญาณที่ว่า"พัฒนาตนเยี่ยงพระสังฆารามโพธิสัตต์เพื่อเกื้อกูลบุคคลอื่นให้มีชีวิตที่ดีงามบนฐานปัญญา"  ชีวิตที่ดีงามบนฐานปัญญา นัยคือ "สัมมาชีพ"และธรรมในส่วนของผู้ครองเรือน เกื้อกูล คือ การทำหน้าที่ปกปักรักษาธรรมในพระพุทธศาสนาอีกลักษณะหนึ่ง

            ๒) "เปิดโลกสำเร็จสมปรารถนา" นิยามคำว่า "เปิดโลก" ตามแนวคิดของพระสังฆารามโพธิสโมสรคือ หาญกล้าที่จะกล้าออกจากอาณาบริเวณที่แต่ละบุคคลคิดว่าเป็นพื้นที่ที่ตนปลอดภัย สามารถควบคุมได้ มีความสบายใจ ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงหรือปรับเปลี่ยนอะไรเพิ่มเติม (Comfort Zone) ออกไปต่อสู้กับโลกภายนอกเพื่อแสวงหาวิถีการดำเนินชีวิตที่ดีกว่าบนฐานของปัญญา สู้ด้วยพลังศรัทธา ความมุ่งมั่น วิริยะอุตสาหะ และความอดทนอย่างยิ่ง สู้จนกว่าจะประสบความสำเร็จสมปรารถนา มิใช่เปิดโลกตามนัยหรือมิติการเจริญพระกรรมฐานของบางสำนัก แต่เป็นค่านิยมร่วม (Core Value) ที่พัฒนาขึ้นจากกรณีคนจีนโพ้นทะเลที่หอบเสื่อหมอนใบออกจากบ้านเกิดเมืองนอน หนีความยากจนข้นแค้น ลงเรือสำเภาออกไปต่อสู้ในทั่วทุกมุมโลกเพื่อแสวงหาชีวิตที่ดีกว่า ประกอบกิจการงานด้วยความซื่อสัตย์ ขยันหมั่นเพียร ยึดมั่นในหลักคุณธรรมจริยธรรมของจีนโบราณ มุมานะสร้างฐานะความเป็นอยู่ให้มั่นคง มั่งคั่ง ร่ำรวย เป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี หากลูกหลานจีนในชั้นหลังนึกภาพไม่ออก ลองอ่านหรือดูละครเรื่องเลือดมังกร จะเห็นภาพชัดเจนขึ้น

           ๓) การวางองค์ประกอบด้านหน้า "เปิดโลกสำเร็จสมปรารถนา"เป็นคำสำคัญ (Key word) ที่นำมาถอดระหัสและออกแบบเบื้องต้น (Conceptual design) โดยอาศัยเหรียญเปิดโลกหลวงปู่ดู่ พรหฺมปญฺโญ วัดสะแก เป็นต้นแบบในการรังสรรค์ภาพที่สามารถสื่อความหมายของความพร้อมและพละกำลังที่จักนำพาไปสู่ความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ ลำดับแรกคือการปรับหูห่วงเหรียญออก แล้วเปลี่ยนเป็นอักษรมงคล "เหล็ง (อาญาสวรรค์ / ผ่านตลอด)" ใน "ลายเมฆยู่ยี่ (ลายเมฆสมปรารถนา)" นัยตรงนี้หมายถึงการตัดความรู้สึกวิตกหรือความไม่เชื่อมั่นออกไปจากใจ มีอาญาสวรรค์ที่ให้สิทธิ์ผ่านตลอดอยู่ตัว แล้วจะไปกลัวอะไรกับปัญหาอุปสรรคหรือขวากหนามที่รออยู่ข้างหน้า สู้ให้ถึงที่สุด สู้จนกว่าจะประสบผลสำเร็จสมดังปรารถนา

            สำหรับภาพมหาเทพโพธิสัตต์กวนอูตรงกึ่งกลางเหรียญ/พระผง เป็นภาพมหาเทพโพธิสัตต์กวนอูปางบัญชาการ ๕ ธง ๙ มังกร ประทับยืนอยู่บนฐานบัวสองชััน (บัวคว่ำบัวหงาย) มหาเทพโพธิสัตต์กวนอูปางนี้เป็นปางที่ทรงพลังอำนาจสูงสุด มือขวาถือง้าวมังกรเขียว ปกติ โดยรอบองค์มหาเทพโพธิสัตต์กวนอูจะมีมังกรพันรอบกายเก้าตัว อันเป็นสัญญะที่สื่อถึงพลังอำนาจสูงสุด แต่ด้วยเหตุที่เป็นวัตถุมงคลขนาดเล็กมาก จึงเห็นแค่มังกรที่เสื้อเกราะ ข้างงหลังเป็นธงกองทัพสวรรค์ ๕ ธง ความหมายของ ๕ ธงมี ๓ นัยคือ ๑) ธงประจำกองทัพสวรรค์ ๕ กองพล ๒) ความสมดุลของธาตุทั้งห้าตามความเชื่อของจีน ได้แก่ ดิน น้ำ ไฟ ไม้ ทอง ๓) ห้าธงตามนัยของพระสังฆารามโพธิสโมสรหมายถึงหลักมหาเทวานุวัตร ๕ ข้อ (เชี่ยวชาญ ช่ำชอง, ศรัทธา มุ่งมั่น, ซื่อตรงในวิชาชีพ, หาญกล้า อดทน, รู้คุณคน ตอบแทนตามควร) บัวคว่ำบัวหงายหรือดอกบัวบานหมายถึงปัญญา นัยโดยรวมของปางนี้นี้คือ สัญญะที่แสดงถึงความพร้อมในการต่อสู้แบบเต็มร้อย

             ทั้งสองข้างขององค์มหาเทพโพธิสัตต์กวนอูเป็นอักษรมงคลจีน ๔ ตัว "บ่วงสื่อยู่ยี่" แปลว่าหมื่นเรื่องสมปรารถนา องค์ประกอบต่าง ๆ ที่นำมาจัดวางในพื้นที่ด้านหน้าของเหรียญ/พระผงรุ่นนี้ ล้วนมีความหมายสอดคล้อง/สัมพันธ์เชื่อมโยงเป็นไปในลักษณะที่เกื้อกูลหนุนเนื่องกัน เป็นการสร้างสัญญะที่มีจุดมุ่งหมายในการเสริมพลังความเชื่อมั่นให้ผู้ที่นำเหรียญ/พระผงรุ่นนี้ไปสักการะบูชาเกิดพลังศรัทธา ความมุ่งมั่น และหาญกล้าที่จะก้าวออกไปต่อสู้เพื่อก้าวไปสู่ความสำเร็จหรือมีวิถีชีวิตที่ดีกว่าบนฐานปัญญา โดยยืดถือมหาเทพโพธิสัตต์กวนอูเยี่ยงอย่าง/หลักมหาเทวานุวัตรเป็นวิถีปฏิบัติในการประกอบสัมมาชีพ

            ๔) องค์ประกอบด้านหลัง ขอบเหรียญด้านหลังแกะเป็นลายเมฆแห่งความรุ่งเรือง นำอักษรมงคล "ลก" กับลายเมฆแห่งความรุ่งเรืองลักษณะหนึ่งมาแทนที่ห่วงเหรียญ ความหมายของอักษรมงคล "ลก" หมายถึงบุญบารมี บุญที่ทำให้ร่ำรวย มีฐานะมั่งคั่ง มีบารมีจากความก้าวหน้าในกิจการงานทั้งหลาย (รับราชการให้ได้เป็นใหญ่เป็นโต ทำการค้าให้รุ่งเรืองมีกำไร) มีลูกหลานดี ๆ มาสืบทอดวงศ์ตระกูล ตรงกลางเหรียญ เป็นภาพพระสังฆารามโพธิสัตต์ (มหาเทพโพธิสัตต์กวนอู) ปางนั่งอ่านหนังสือ ปางนี้บรรดากูรูทั้งหลายให้ความเห็นว่า "ปางนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการใช้สติปัญญาในอาชีพการงาน" แต่น้อยคนที่จะอธิบายว่าหนังสือที่ท่านถืออ่านคือ "คัมภีร์หลีซื่อชุนชิว" คัมภีร์ว่าด้วยการปกครองและบริหารจัดการเล่มนี้ บัณฑิตและนักการศึกษาในชั้นหลังให้ความเห็นว่าเป็นปรัชญาแบบผสมผสาน คือมีแนวคิดอันหลากหลาย แต่มีเป้าหมายที่มุ่งไปสู่ความสำเร็จอันดีงามในที่สุด ส่วนข้อความที่ขนาบข้างองค์มหาเทพโพธิสัตต์กวนอู เป็นได้ทั้งผลลัพธ์จากการปฏิบัติและพรที่ให้กับผู้ศรัทธาในวิถีทางนี้ "มั่นคง ร่ำรวย เป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี" และ "ขอชีวิตที่ดีงามจงบังเกิดแก่ทุกท่าน" ด้านล่างของภาพเป็นนามของท่าน "พระสังฆารามโพธิสัตต์ (กวนอู)" และปีที่เริ่มจัดสร้าง ๒๕๖๖  

วัตถุมงคลที่จัดสร้าง

           วัตถุมงคลพระสังฆารามโพธิสัตต์ (มหาเทพโพธิสัตต์กวนอู) รุ่นเปิดโลกสำเร็จสมปรารถนาที่จัดสร้างขึ้นในวาระนี้ ประกอบด้วยวัตถุมงคล ๓ ส่วน ดังรายละเอียดต่อไปนี้

          ๑. วัตถุมงคลที่สร้างขึ้นเพื่อตอบแทนผู้มีอุปการคุณ/ช่วยเหลืองาน เป็นวัตถุมงคลที่จัดสร้างขึ้นเพื่อมอบแด่ผู้มีอุปการคุณ และ/หรือ ช่วยดำเนินงานส่วนต่าง ๆ โดยไม่หวังผตอบแทน จำนวนสร้างแต่ละรายการ จึงมีไม่มากนัก ทั้งทำไปตามหลักมหาเทวานุวัตร ข้อ ๕ คือ "รู้คุณคน ตอบแทนตามควร" วัตถุมงคลส่วนนี้ ไม่มีการจำหน่ายหรือเปิดให้เช่าบูชา ที่หยิบยกมานำเสนอ มีจุดมุ่งหมายเพียงประการเดียวคือบันทึกไว้เป็นหลักฐาน

                  ๑.๑ เหรียญหล่อเนื้อห้าธาตุ แบบช่อ ๙ จำนวนสร้าง ๖ ช่อ คู่แรก มอบให้ช่างตุ้ม (โสภณ ศรีรุ่งเรือง) เก็บไว้ที่โรงงานโสภณโลหะภัณฑ์เพื่อใช้ในการนำเสนอ/แสดงผลงาน, คู่ที่ ๒ เก็บรักษาไว้ หากวันใดที่ "พระสังฆารามโพธิสถาน (อุทยานมหาเทพโพธิสัตต์กวนอู)" บังเกิดขึ้นตามเจตนารมย์และสำเร็จลุล่วงตามจึดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ด้วยแรงศรัทธามหาชน ก็จักอัญเชิญเหรียญหล่อคู่นี้ไปประดิษฐานในพิพิธภัณฑ์ของอุทยานฯ, คู่ที่ ๓ เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้จัดสร้าง. เหตุผลสำคัญที่มอบเหรียญหล่อแบบช่อให้ช่างตุ้ม เพราะช่างตุ้มรับเป็นภาระในการหล่อเหรียญฯ จำนวน ๕๕ เหรียญ ในค่ำคืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง (ลอยกระทง) ด้วยแรงศรัทธาที่มีต่อองค์มหาเทพโพธิสัตต์กวนอูเป็นอย่างยื่ง หากไม่มีศรัทธาและเมตตาเพื่อนที่รู้จักมักคุ้นกันมานานเกือบ ๔๐ ปี คงไม่สละเวลาทำงานจำนวนน้อยนิดในค่ำคืนที่คนส่วนใหญ่ต้องการไปเที่ยวงานลอยกระทงกัน ตอนแรก ตั้งใจว่าจะหล่อเพียง ๕ ช่อ แต่เผื่อเสียเผื่อชำรุด ๑ ช่อ พอหล่อเหวี่ยงเสร็จ เหรียญหล่อสวยงามสมบูรณ์ทุกช่อ เลยตัดสินใจเก็บไว้ทั้ง ๖ ช่อ

                  ๑.๒ เหรียญหล่อเนื้อห้าธาตุแก่ชนวน จำนวนสร้างที่กำหนดไว้แต่แรกคือ ๕๕ เหรียญ แต่หล่อเหวี่ยงได้จริง ๕๗ เหรียญ เหรียญหล่อชุดนี้ จักมอบให้แก่ผู้มีอุปการคุณ และ/หรือ ช่วยเหลืองาน ตามที่ผู้จัดสร้างเห็นสมควร 

             ๒. วัตถุมงคลที่เปิดให้เช่าบูชา เป็นวัตถุมงคลส่วนที่จัดสร้างขึ้นเพื่อหาปัจจัยเป็นเงินทุนตั้งต้นในการดำเนินงานตามอุดมการณ์ในการเผยแผ่หลักมหาเทวานุวัตรและหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวเนื่องกับการดำเนินชีวิตที่ดีงามบนฐานปัญญาโดยยึดพระสังฆารามโพธิสัตต์ (มหาเทพโพธิสัตต์กวนอู) เป็นเยี่ยงอย่างในการพัฒนาตนเองแลเกื้อกูลบุคคลอื่นให้มีชีวิตที่ดีงามบนฐานปัญญา วัตถุมงคลส่วนนี้ ประกอบด้วยเหรียญ/พระผง ดังรายละเอียดต่อไปนี้

                   ๒.๑ เหรียญปั๊มเนื้อห้าธาตุบุทองหน้าหลัง เป็นเหรียญปั๊มเนื้อบนสุดที่นำเหรียญ ๕ ธาตุ มาบุทองคำเต็มพื้นที่ทั้งด้านหน้าและด้านหลังของเหรียญ น้ำหนักทอง ๗.๖ กรัมโดยประมาณ สั่งตามจำนวนสั่งจอง เปิดจองเหรียญละ ๒๕,๙๙๙ บาท (สองหมื่นห้าพันเก้าร้อยเก้าสิบเก้าบาท)

                   ๒.๒ เหรียญปั๊มเนื้อเงิน จำนวนสร้าง ๕๕ เหรียญ บูชาเหรียญละ ๑,๕๐๐ บาท (หนึ่งพันห้าร้อยบาท)

       

 

                       ๒.๓ เหรียญปั๊มเนื้อห้าธาตุ จำนวนสร้าง ๒,๐๐๐ เหรียญ บูชาเหรียญละ ๓๐๐ บาท (สามร้อยบาท)

                   ๒.๔ เหรียญปั๊มเนื้อสัมฤทธิโชค จำนวนสร้าง ๒,๐๐๐ เหรียญ ให้เช่าบูชา ๒ แบบ แบบแรก จัดเป็นกล่อง ๆ ละ ๒๐ เหรียญ จำนวน ๕๕ กล่องบูชากล่องละ ๒,๐๐๐ บาท (สมนาคุณพระผงสองสี, พระผงสีแดง, พระผงสีเขียว, พระผงสีขาว อย่างละองค์) แบบที่สอง ให้บูชาเดี่ยว จำนวน ๘๐๐ เหรียญ ๆ ละ ๑๒๐ บาท (หนึ่งร้อยยี่สิบบาท)

                   ๒.๕ พระผงสองสีติดหน้ากากองค์พระหน้า/หลัง ลักษณะเป็นพระผงเนื้อสองสีติดหน้ากากเฉพาะองค์พระทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ด้านหน้าเป็นผงสีแดงติดหน้ากากสัมฤทธิโชค ด้านหลังเป็นผงสีเขียว ติดหน้ากากทองแดง สร้าง ๑,๐๐๐ องค์ บูชาองค์ละ ๑๐๐ บาท (หนึ่งร้อยบาท)

                   ๒.๖ พระผงสองสี รูปแบบ/เนื้อหามวลสารเหมือนกับรายการที่ ๒.๕ ต่างกันที่ไม่ติดหน้ากาก จำนวนสร้าง ๒,๐๐๐ องค์ บูชาองค์ละ ๕๐ บาท (ห้าสิบบาท)

             ๓. วัตถุมงคลที่สร้างขึ้นเพื่อแจกเป็นทานบารมี เป็นพระผงที่จัดสร้างขึ้นเพื่อแจกเป็นทานบารมีโดยไม่หวังผลตอบแทนเป็นตัวเงิน แต่ทำเพื่อเผยแผ่เกียรติคุณของพระสังฆารามโพธิสัตต์ (มหาเทพโพธิสัตต์กวนอู)/หลักมหาเทวานุวัตร อันเป็นปัจจัยสำคัญลำดับแรกที่จักนำไปสู่การสร้างศรัทธาด้านการดำเนินชีวิตที่ดีงามบนฐานปัญญา ทั้งเป็นการสร้างทาน บารมีถวายองค์มหาเทพโพธิสัตต์กวนอู พระผงส่วนนี้ มี ๓ รายการ รวม ๗,๐๐๐ องค์ ดังรายการต่อไปนี้

                  ๓.๑ พระผงสีแดง จำนวนสร้า๓,๐๐๐ องค์

                  ๓.๒ พระผงสีเขียว จำนวนสร้าง ๔,๐๐๐ องค์

                  ๓.๓ พระผงสีขาว จำนวนสร้าง ๑,๐๐๐ องค์

เนื้อหามวลสารที่ใช้ในการจัดสร้าง

           ๑. ชนวน/แผ่นยันต์ที่ใช้ในการหล่อเหรียญ ชนวน แผ่นยันต์ และวัตถุอาถรรพ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการหล่อเหรียญฯ มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

                   ๑.๑ แผ่นชนวนหลอมรวมยันต์ ๑๐๘ นะ ๑๔ (หล่อบาตรน้ำมนต์หลวงปู่ผิว อภิชาโต วัดประดู่ทรงธรรม)

                   ๑.๒ เส้นเหล็กและตะปูจากการซ่อมเรือสำคัญ

                   ๑.๓ พระกริ่ง/พระชัยวัฒน์ชำรุด หลวงปู่แป๊ะ สติปญฺโญ วัดดอนหวาย โพธาราม ราชบุรี

                   ๑.๔ ก้านชนวนเหรียญหล่อเจ้าสัว หลวงปู่แป๊ะ สติปญฺโญ วัดดอนทราย โพธาราม ราชบุรี

                   ๑.๕ โลหะชนวนรวม ๑ แท่ง (คุณมนตรี แก้วพิจิตร มอบให้) 

                   ๑.๖ แผ่นยันต์ปั๊มพระอาจารย์ปุ้ม วัดชุมพลนิกายาราม บางปะอิน พระนครศรีอยุธยา

                   ๑.๗ แผ่นยันต์พระอาจารย์รุ่ง ปิยธโร สำนักสงฆ์ท่าไม้ลาย ประจวบคีรีขันธ์

                   ๑.๘ แผ่นทองผ่านการอธิษฐานจิตจากพระเกจิอาจารย์ต่าง ๆ ()มาไม่ทันพิธีเททองหล่อพระอวโลกิเตศวรของรศ.ดร.อิสระ สุวรรณบล อดีตผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาประสิทธิภาพในราชการ

                   ๑.๙ แผ่นยันต์นะสำเร็จ ๘ แผ่น

                   ๑.๑๐ แร่จ้าวน้ำเงิน

                   ๑.๑๑ เหล็กไหล ๓ ชนิด ได้แก่ เหล็กไหลสุริยันราชา เหล็กไหลทองปลาไหล เหล็กไหลเงินยวง 

              ๒. มวลสารที่ใช้ในการสร้างพระผง แม้พระผงส่วนใหญ่จะเป็นพระที่ทำขึ้นเพื่อแจกโดยไม่หวังผลตอบแทนที่เป็นรูปธรรม แต่เนื้อหามวลสารที่นำมาเป็นส่วนผสมหลักในการสร้างพระสังฆารามโพธิสัตต์ (มหาเทพโพธิสัตต์กวนอู) รุ่นเปิดโลกสำเร็จสมปรารถนา ก็มิได้ด้อยไปกว่าพระเนื้อผงยุคก่อนแต่ประการใด มวลสารบางอย่างก็เป็นสิ่งที่สรรหาได้ยากยิ่งหลักที่ใช้ในการจัดสร้างประกอบด้วย

                   ๒.๑ มวลสาร ๑,๐๐๐ รายการ (รวบรวมเมื่อครั้งสร้างพระจตุคามรามเทพรุ่นมหาเมตตา คราวนั้นได้ดินกากยายักษ์มามากกว่า ๓๐ กิโลกรัม)

                   ๒.๒ ผง/เศษวัสดุ (ไม้, ชาด, กระจก, ด้าย) จากการซ่อมเรือสำคัญ ๔ ลำ

                   ๒.๓ ผงธูปจากศาลเจ้ากวนอู ๕ แห่ง: ตลาดเก่าเยาวราช, สมาคมฮากกา, ราชบุรี, สงขลา, คลองสาน.

                   ๒.๔ ว่าน ๑๐๘

                   ๒.๕ ง่วนดิน

                   ๒.๖ ผงอิทธิเจ หลวงปู่สุข สุขเปโม วัดป่าหวาย พรหมบุรี สิงห์บุรี

                   ๒.๗ ผงยาจินดามณี หลวงปู่สุข สุขเปโม วัดป่าหวาย พรหมบุรี สิงห์บุรี

                   ๒.๘ ผงพุทธคุณต่าง ๆ (ได้รับจากคุณมนตรี แก้วพิจิตร) 

                   ๒.๙ ผงไม้แก่นจันทน์/ไม้งิ้วดำ (ชุดเดียวกับผงที่ใช้สร้างพระสังกัจจายน์ซุ้มกอ หลวงปู่แป๊ะ สติปญฺโญ วัดดอนทราย อ.โพธาราม จ.ราชบุรี)

                   ๒.๑๐ พลอยเสกหลวงปู่สุข สุขเปโม วัดป่าหวาย

                   ๒.๑๑ ผงพลอยจากเมียนมาร์

                   ๒.๑๒ ข้าวตอกพระร่วง

                   ๒.๑๓ อำพันจากประเทศแถบสแกนดิเนเวีย

                   ๒.๑๔ น้ำผึ้งป่าแช่เหล็กไหลเจ็ดสี (เขาอึมครึม)

                   ๒.๑๕ น้ำมันหอมแช่แร่บางๆฝ่ วัดนครอินทร์ นนทบุรี

พิธีกรรม

          พระสังฆารามโพธิสัตต์ (มหาเทพโพธิสัตต์กวนอู) เป็นมหาเทพโพธิสัตต์ที่มีความเข้มขลังและศักดิ์สิทธิ์บนรากฐานของศรัทธามหาชนที่สั่งสมมานานกว่าพันปี แม้มิได้มีการอธิษฐานจิตปลุกเสกตามจารีตนิยมของสังคมไทย ประติมากรรม/รูปมหาเทพโพธิสัตต์กวนอูก็มีความศักดิ์สิทธิ์ในตัว ดังคำกล่าวของผู้จัดการศาลเจ้ากวนอูเก่าแก่แห่งหนึ่งที่ว่า"รูปปั้นอากงมาจากเมืองจีน ไม่มีการเสกก็ศักดิ์สิทธิ์ ที่ศักดิ์สิทธิ์เพราะแรงศรัทธามหาชน" ในอีกมุมมองหนึ่ง ความยิ่งใหญ่ขององค์มหาเทพโพธิสัตต์ ล้วนมาจากหลักมหาเทวานุวัตรทั้งสิ้น ในหลักมหาเทวานุวัตร มีคาถาอันเป็นหัวใจสำคัญที่นำไปสู่พลังอำนาจ/ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ ๒ บทคือ "ศรัทธา มุ่งมั่น" และ "หาญกล้า อดทน" เหตุนี้ จึงเป็นที่มาของการกำหนดจารีตอันเป็นแนวปฏิบัติในการประกอบพิธีสมโภชวัตถุมงคลที่จัดสร้างโดยพระสังฆารามโพธิสโมสร ดังนี้ "จัดพิธีสมโภชโดยการนิมนต์พระพิธีธรรมฝ่ายมหายาน ๕ รูปมาเจริญพระพุทธมนต์ ไม่มีพระเกจิอาจารย์นั่งอธิษฐานจิตปลุกเสก หากไม่อาจฝืนกระแสสังคมได้ อาจจัดพิธีอธิษฐานจิตแผ่เมตตาในลักษณะปลุกเสกเดี่ยวโดยพระเกจิอาจารย์ผู้มีจริยาวัตรไม่ขัดกับแนว ทางของพระสังฆารามโพธิสโมสร และ/หรือมีสายวิชาในแนวทางเดียวกันกับการจัดวางองค์ประกอบอันเป็นสัญลักษณ์ของวัตถุมงคลแต่ละรุ่น ทั้งมีข้อห้ามที่สำคัญยิ่งคือ ต้องจัดต่างหากจากพิธีสมโภชและจัดพิธีอธิษฐานจิตแผ่เมตตาเดี่ยวได้เพียงครั้งเดียว

                  พิธีสมโภชวัตถุมงคลพระสังฆารามโพธิสัตต์ (มหาเทพโพธิสัตต์กวนอู) กำหนดจัดที่อุโบสถวัดชัยภูมิการาม เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ในวันจันทร์ที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๖๗ (วันธงไชยของจีน) โดยนิมนต์ภิกษุ ๕ รูปเจริญพระพุทธมนต์ตามแบบอย่างของอานัมนิกาย (มหายาน) ข้อกำหนดคือเป็น การสมโภชแบบเรียบง่าย ไม่มีพระเกจิอาจารย์อธิษฐานจิตปลุกเสกตามจารีตนิยมของเถรวาทแบบไทย ๆ ในส่วนการทำพิธีกรรมตามแบบจารีตนิยม นิมนต์พระอาจารย์สาน ลกฺขโณ วัดกลางบางแก้ว มาอธิษฐานจิตแผ่เมตตาที่ห้องพระบ้านอุทยาน ในวันพุธที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๖๗ ตามเมตตาจิตของพระอาจารย์สาน ลกฺขโณ ที่บอกว่าวัตถุมงคลอยู่ที่ไหน ก็ไปทำอธิษฐานจิตแผ่เมตตาที่นั่น ไม่ต้องขนไปขนกลับ

 

พลานุภาพ

            พลานุภาพของพระผงและเหรียญพระสังฆารามโพธิสัตต์ (มหาเทพโพธิสัตต์กวนอู) เป็นพลังศรัทธาที่พึงบังเกิดขึ้นจากภาพรวมของวัตถุมงคลชุดมหาเทพโพธิสัตต์กวนอูซึ่งประกอบด้วยสัญลักษณ์มงคลต่าง ๆ ที่สื่อความหมาย"ประกอบกิจการงานใดล้วนสำเร็จสมปรารถน", เมตตาบารมีของภิกษุฝ่ายมหายานและพระอาจารย์สาน ลกฺขโณ (ศิษย์หลวงปู่เพิ่ม ปุญฺญวสโน), ที่สำคัญยิ่งคือ การบำเพ็ญตนตามหลักคุณธรรมจริยธรรม/วัตรปฏิบัติของมหาเทพโพธิสัตต์กวนอู


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy